วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

Technology สำหรับพัฒนาเว็บ

1 html
HTMLนั้นย่อมาจากคำว่าHyper Text Marup Language หรือเอกสารที่เราเห็นกันอยู่ browser นั้นเอง จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความสามารถในการเชื่อมโยง ข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ เป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถ แบบHypertext คือสามารถเปิดดูได้โดย เท็กซ์อดิเตอร์ใดๆ ส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยัง เอกสารอื่นๆนั้น สามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษเข้าไปในเอกสาร(markup)หรือที่เรียกว่า แท็ก(Tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเวบบราวเซอร์ต่างๆ เช่น IE หรือ Netscape ,Opera ฯลฯ ซึ่งภาษาhtmlนั้นมีรากฐานมาจากภาษาSGML(Standard General Marup Languaga)ซึ่งเป็น อีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการใช้งานอิเตอร์เนตในระยะแรกๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษาHTMLอยู่ ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็นHTML4.แล้วครับ ความจริงแล้วHTMLนั้นก็ไม่ถึงกับเป็นภาษา หนึ่งเพราะขาดคุณสมบัติหลายๆอย่าง และHTMLนั้นก็มีคุณสมบัติที่ ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใดๆเลย ก็สามารถเขียนได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือ เราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้ง ตัวอักษร ภาพ เสียง VDO และอื่นๆที่ผนวกอยู่ใน ไฟล์เดียว และสามารถ เชื่องโยงกับเอกสารอื่นๆได้ง่ายดาย
ที่มา : http://www.nsru.ac.th/oldnsru/data/homepage/what.html

2 PHP nuke
- PHP-Nuke เป็น ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส(Open Source) ซึ่งประกอบไปด้วย โฟลเดอร์และไฟล์(.php) ซึ่งต่างจากโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไปที่คุณคุ้นเคยกันที่มักเป็น ไฟล์แอพพลิเคชัน(.exe) ใหญ่ๆ(ที่คุณเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย) เพียงไฟล์เดียว!!! (นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ PHP-Nuke มีวิธีการติดตั้งต่างจากโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป) - PHP-Nuke สามารถทำงานได้ใน ทุกระบบปฏิบัติการ(Operating Systems) ไม่ว่าจะเป็น Linux, Windows, MacOS,... แต่... มีข้อแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่จะใช้งาน PHP-Nuke ได้จะต้องติดตั้ง(ลง) โปรแกรมข้างล่างนี้อยู่ก่อนแล้ว : 1. โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache 2. โปรแกรมภาษา PHP 3. โปรแกรมฐานข้อมูล MySQL หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ใช้ Windows ที่ต้องการติดตั้งโปรแกรมสนับสนุนการทำงานทั้งหมดของ PHP-Nuke ในขั้นตอนเดียว! แนะนำให้ใช้โปรแกรม AppServ ครับ
ที่มา : http://www.thainuke.org/modules.php?name=News&file=article&sid=981

3 ASP
ASP หรือ Active Server Pages เป็นโปรแกรมตีความภาษา (Interpreter) ที่ใช้ในการตีความเว็บเพจที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ไวยากรณ์หรือ syntax ของภาษา VBscript (ซึ่ง VBscript ก็อาศัยโครงสร้างของภาษา Visual Basic อีกที) แล้วสร้างเว็บเพจผลลัพธ์ขึ้นมา จากนั้นก็จะส่งไปให้ web server เพื่อที่จะให้ web server ส่งต่อไปยัง browser อีกที เนื่องจาก ASP จะต้องทำงานโดยการร้องขอของ web server ดังนั้นจึงจะต้องมีโปรแกรม ASP ติดตั้งที่ web server ด้วย โดยที่ปัจจุบัน เมื่อพูดถึง ASP มักจะหมายถึงเป็น ASP ที่ทำงานในวินโดว์ NT หรือ วินโดว์ 95 ,98 (ใช้กับธุรกิจหรืองานที่ปริมาณการติดต่อไม่มากนัก หรือใช้ในการทดสอบเพื่อการพัฒนางานไปสู่ระบบใหญ่ต่อไป)
ที่มา : http://www.aspthai.net/asp/default.asp

4 JSP
JSP เป็นสคริปต์อีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน จุดเด่นที่สำคัญของ JSP อยู่ที่การใช้ภาษา Java ซึ่งเป็นเชิง OOP ที่ช่วยสามารถพัฒนาแอปพลิแคชันขนาดใหญ่และซับซ่อน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
สารพัดข้อดีของ JSPการพัฒนาเว็บแอปพลิแคชันด้วย JSP มีข้อดีต่างๆ มากมาย ดังนี้
-ทำงานโดยไม่ยิดติดแพลตฟอร์มใดๆ JSP ได้สืบทอกคุณสมบัติ ของ Java มาอย่างเต็มที่ โดยสามารถทำงานได้ในทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น windows, linux, mac os
-ใช้งาน Java API ได้หลากหลาย ซึ่ง Java API คือกลุ่มของคลาสที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อกับ database, การรับส่ง อีเมล์ เป็นต้น
-นำคอมโพเนนต์กลับมาใช้ได้อีก ไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่ ดังนั้นเราจึงไม่ต้องเสียเวลาเขียนสคริปต์ ใหม่เพื่อทำงานครั้งต่อไป จึงช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เร็วขึ้น
-มีความยืดหยุนในการใช้งาน คือเราสามรถกำหลด tag ใหม่ชึ้นมาใช้งานได้ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้งานร่วมกับ XML ได้เป็นอย่างดี
-ความปลอกภัยสูง JSP มีระบบจัดการข้อพิดพลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อพิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการเขียน program หรือข้อพิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่าง runtime ล้วนสามารถตรวจสอบข้อพิดพลาดได้ทันที่และตรงจุด

ที่มา : http://thaiprogrammer.blogspot.com/2008/09/jsp.html

ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารข้อมูล

1) ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันนี้เรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้นครอบคลุมอยู่ได้แก่ ระบบแวน หรือ
ระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (wide area network : WAN) ระบบเมน หรือระบบเครือข่ายบริเวณมหานคร (metropolitan area network : MAN) และระบบแลน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network : LAN)

1. ระบบแวน (wide area networks : MAN) ระบบเครือข่ายบริเวณกว้างที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่าง ไกลกันข้ามจังหวัดหรือประเทศ ดังนั้น จึงต้องใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูงในระดับประเทศ เช่น ขององค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย สำหรับตัวกลางอาจเป็นคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา สายเช่าวงจรไมโครเวฟ เส้นใยแก้วนำแสง สายเคเบิล แบบโคแอกเชียล หรือใช้ระบบ ดาวเทียมก็ได้ โดยพื้นฐานแล้ว ระบบเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นระบบเครือข่ายสื่อสาร ที่สามารถใช้ส่ง สัญญาณ เสียง ภาพ และข้อมูลข้ามอาณาบริเวณไกล ๆ ได้
2. ระบบแมน (metropolitant area network : MAN) ระบบเครือข่ายบริเวณมหานครเป็นระบบ ที่เชื่อม โยงคอมพิวเตอร์ซึ่ง อาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ปกติมักใช้สำหรับสื่อสารข้อมูล เสียง และภาพ ผ่านสาย โคแอกเชียลหรือเส้นใยแก้วนำแสง ผู้ใช้ระบบแมนมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็น จะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่าน ระบบ คอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดภายในบริเวณเมือง หรือมหานคร
3. ระบบแลน (local area networks : LAN) เป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งภายในตัวอาคารหลังเดียว หรือที่อยู่ในละแวกเดียวกัน การเชื่อมโยงมักใช้ตัวกลางสื่อสารของตัวเอง เป็นระบบที่เจ้าของ ควบคุมการปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย
ที่มา : http://mail.hu.ac.th/~s4052038/P8.html

2) ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
1 แบบทิศทางเดียว(Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์
2 แบบกึ่งสองทิศทาง(Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทาง โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูดส่ง,รับ รับ, ส่ง
3 แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์
ที่มา : http://www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03/unit8/network1.html

3รูปแบบการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูล
1 แบบดาว ( Star) เป็นการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับ หน่วยสลับสายกลาง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจร เชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกัน
2 แบบวงแหวน (Ring) เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับ เครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานี เข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็น ของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะส่งต่อไป
3 แบบบัสหรือต้นไม้ ( Bus or Tree) เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้อง ใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัส โดยผ่าน ทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลบนบัสจึงสามารถส่งไปยังสถานีต่างๆ ได้
ที่มา : http://www.vr-satellite.com/knowledgebase/Knowledge06.php

4องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-8-28298.html

รหัส ASCII

ตาราง ASCII Code
รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange)



รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน

โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้มีการเปลี่ยนแปลงการแทนข้อมูลด้วยรหัส ACSII ให้ต่างไปจากมาตรฐาน โดยรหัสการจัดรูปแบบตัวอักษร (formatiing) ให้เป็นตัวหนาหรือตัวเอียง เป็นต้น ทำให้โปรแกรมอื่น ๆ ไม่สามารถอ่านข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมประเภทนี้ได้ เพราะมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลไม่ตรงกัน


ภัคพงศ์ เกษาพันธ์

ภัคพงศ์ เกษาพันธ์
ภัคพงศ์ เกษาพันธ์ คอมพิวเตอร์ศึกษา 4922122102
โทร 0867203494